วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559

เครื่องมือและวัสดุที่ใช้ในการสร้างหุ่นยนต์

หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ (อังกฤษ: humanoid robot) คือหุ่นยนต์ที่ออกแบบขึ้นมาโดยมีพื้นฐานมาจากร่างกายมนุษย์ โดยทั่วไปแล้วหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์มีลำตัวพร้อมหัว สองแขน และสองขา แม้หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์บางรูปแบบจะจำลองเฉพาะบางส่วนของร่างกายเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ตัวแต่เอวขึ้นไป หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์บางตัวยังอาจมี 'ใบหน้า' พร้อม 'ตา' และ 'ปาก' อีกด้วย แอนดรอยด์ (android) คือหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ที่สร้างเลียนแบบมนุษย์เพศชาย และ gynoid คือหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ที่สร้างเลียนแบบมนุษย์เพศหญิง



หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์เป็นหุ่นยนต์อัตโนมัติ เนื่องจากมันสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมหรือตัวมันเอง และยังคงทำงานต่อเพื่อบรรลุเป้าหมาย สิ่งนี้เป็นข้อแตกต่างหลักระหว่างฮิวแมนนอยด์และหุ่นยนต์ชนิดอื่น เช่นหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ที่ใช้ปฏิบัติภารกิจในสภาพแวดล้อมที่มีโครงสร้างชัดเจนมาก ในบริบทนี้ ความสามารถของหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์อาจรวมถึง แต่ไม่จำกัดแค่สิ่งเหล่านี้:

"ฮิวแมนนอยด์" หุ่นยนต์ตัวแรกของญี่ปุ่นท่องอวกาศ โดยทำหน้าที่เป็นเพื่อนกับผู้บัญชาการศูนย์อวกาศนานาชาติ




หุ่นยนต์ "คิโรโบะ" เป็นหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ตัวแรกของญี่ปุ่นที่ถูกส่งขึ้นไปทดลองในห้วงอวกาศ โดยทำหน้าที่เป็นเพื่อนกับนายโคอิชิ วากาตะ ผู้บัญชาการศูนย์อวกาศนานาชาติ หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ตัวนี้ถูกออกแบบมาให้สนทนาตอบโต้ได้ด้วยตัวเอง การทดสอบครั้งแรกวากาตะถามหุ่นยนต์ว่า "รู้สึกอย่างไรที่อยู่ในสภาพไร้แรงโน้มถ่วง" หุ่นยนต์ตามว่า "ตอนนี้ชินแล้ว ไม่มีปัญหา" ในอนาคตจะมีการพัฒนาหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ให้สามารถแสดงท่าทางได้เช่นการโบกมือหรือก้าวเดินได้เอง

การนำหุ่นยนต์ Humanoid มาประยุกต์ใช้งาน

ในปัจจุบันหุ่นยนต์เริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น เนื่องจากหุ่นยนต์ถูกออกแบบมาให้เป็นมิตรกับมนุษย์ โดยการเปิดโอกาสให้เด็ก หรือผู้ใหญ่เข้ามามีส่วนในการใช้งานหุ่นยนต์โดยตรง และไม่จำเป็นต้องใช้ความรู้ระดับสูงในการใช้งาน ในที่นี้ ขอเน้นการนำไปใช้งานได้ 2 ด้าน ดังนี้

1) ด้านการศึกษา เช่น หุ่นยนต์สามารถนำไปจัดหลักสูตรการเรียนการสอนได้ตั้งแต่ระดับประถม มัธยม หรืออุดมศึกษา โดยเริ่มจากความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหุ่นยนต์, การจัดกิจกรรมฝึกอบรมหุ่นยนต์ ตลอดจนการจัดการแข่งขันหุ่นยนต์ในด้านต่างๆ เช่น การแข่งขันหุ่นยนต์เตะฟุตบอล หุ่นยนต์กู้ภัย เป็นต้น




ดูแลรักษาตัวเอง (เติมพลังงานให้ตัวมันเอง)
เรียนรู้อัตโนมัติ (เรียนรู้หรือได้มาซึ่งความสามารถใหม่ ๆ โดยไม่ต้องได้รับความช่วยเหลือจากภายนอก, ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ตามสิ่งแวดล้อม และปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ใหม่ ๆ)
หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่จะเป็นอันตรายต่อมนุษย์ ทรัพย์สิน และตัวมันเอง
โต้ตอบกับมนุษย์และสภาพแวดล้อมอย่างปลอดภัย


เครื่องมือและวัสดุที่ใช้ในการสร้างหุ่นยนต์


1.)หลักความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือทางกล

     1.1) แต่งกายให้รัดกุมเหมาะสมกับการปฏิบัติงาน

    1.2)ห้ามใส่เครื่องประดับตกแต่งร่างกายในขณะปฏิบัติงาน

    1.3)ใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานทุกครั้ง

    1.4)ใช้เครื่องมือเครื่องจักรให้เหมาะสมกับลักษณะงาน

    1.5)ทำความสะอาดเคื่องมือหรือเครื่องจักรก่อนและหลังการปฏิบัติงานทุกครั้ง

    1.6)ห้ามเล่นหยอกล้อกันในขณะปฏิบัติงาน

    1.7)ห้ามใช้เครื่องมือหรือเครื่องจักรก่อนได้รับอนุญาต

    1.8)ปฏิบัติงานตามเวลาที่ที่กำหนดโดยเคร่งครัด

    1.9)ห้ามซ่อมดัดแปลง แก้ไข เคื่องมือ เครื่องจักรก่อนได้รับอนุญาต

    1.10)เมื่อเกิดอุบัติเหตุให้แจ้งผู้ควบคุมการปฏิบัติงานทราบทันที



2.)เครื่องมือทางกลชนิดต่างๆ                                                                                                                                                                                                                                    

2.1)เครื่องมือประเภทวัด

ไม้บรรทัดเหล็ก ฉากเหล็ก ตลับเมตร เวอร์เนียร์คาริปเปอร์

2.2)เครื่องมือประเภทตัด เลื่อยลันดา เลื่อยหางหนู เลื่อยตัดเหล็ก เลื่อยรอ เลื่อยฉลุไฟฟ้า

2.3)เครื่องมือประเภทเจาะ

สว่านแท่นหรือสว่านตั้งพื้น สว่านไฟฟ้า ไขควงไขควงปากแบน ไขควงปากแฉกคีม คีมปากจิ้งจก คีมปอกและย้ำหัวต่อสาย คีมปากจระเจ้หรือคีมเอนกประสงค์ คีมตัดปากเฉียง ชุดประแจหกเหลี่ยม ประแจปากตาย คัดเตอร์ ตะไบ กระดาษทราย เครื่องเจียร์ ปืนกาว กล่องเครื่องมือ แผ่นรองตัด หัวแร้งไฟฟ้าและตะกั่ว  วัสดุ-อุปกรณ์ ไม้อัด ไม้ไผ่ ฟิวเจอร์บอร์ด แผ่นอะคลิลิก กระดาษแข็ง สกรู น๊อต แหวนรองน๊อต กาวร้อน กาวเคมี กาวยาง โลหะรูปตัวแอล แผ่นเพลทสำเร็จรูป สวิตซ์ก้าน 3 ทาง สวิตซ์ก้าน 2 ทาง สวิตซ์กดติดปล่อยดับ ลิมิตสวิตซ์

การสร้างหุ่นยนต์อย่างง่าย by Arduino

https://robotsiam.blogspot.com/